วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บทที่ 6 ที่พักแรม

ความเป็นมาของธุรกิจที่พักแรมในต่างประเทศ


ในทวีปยุโรปและอเมริกา ที่พักแรมเกิดจากความต้องการของนักเดินทางที่ไม่มีที่พักอาศัย ไม่สามารถไป-กลับได้ ในเวลาหนึ่งวัน รูปแบบที่พักพัฒนาตามความเจริญของเศรษฐกิจ ระบบขนส่งคมนาคม

ยุคแรกของที่พักแรมนั้น ให้เพื่อบริการการพักผ่อนเท่านั้น ต่อมากลายเป็น Coaching Inn ที่พักตามเส้นทางถนนและได้รับความนิยมในประเทศอังกฤษ

๓ ศตวรรษที่ ๑๘ รูปแบบที่พักได้เจริญเติบโตขึ้น บริเวณสถานีปลายทางและเมืองท่า มีการออกแบบให้เป็นโรงแรมรถไฟ (Railway Hotels) ช่วยให้นักท่องเที่ยวเข้าถึงเมืองตากอากาศได้สะดวกมากขึ้น ที่พักแบบตากอากาศ หรือรีสอร์ท (Resort) จึงขยายตัวมากในยุโรปและอเมริกา

Hotel

โรงแรม (Hotel) เป็นประเภทธุรกิจที่พักแรมในปัจจุบัน คำว่า Hotel มาจากภาษาฝรั่งเศส ดังนั้น แบบแผนการดำเนินงานการโรงแรมมาตรฐานสากลส่วนใหญ่ ล้วนมีต้นแบบจากประเทศในยุโรปและอเมริกา

กลุ่มโรงแรมที่สำคัญ ได้แก่ Intercontinental, Holiday Inn, Marriott, Sofitel, Hilton, Conrad, Sheraton, Hyatt, Le Meridien เป็นต้น

ความเป็นมาของธุรกิจที่พักแรมในประเทศไทย

สมัยอยุธยา : เพื่อบริการพ่อค้า ทูต ผู้เผยแพร่ศาสนา บริเวณวัดเสาธงทองตั้งอยู่ระหว่างพระนารายณ์ราชนิเวศน์ ต.ท่าหิน อ.เมือง จ.ลพบุรี พระวิหารเดิมสร้างขึ้นเพื่อเป็นสุเหร่า ตามแผนที่ของฝรั่งเศสระบุว่า เป็นที่พักของชาวเปอร์เซีย


สมัยรัตนโกสินทร์ : เพื่อบริการนักเดินทางชาวตะวันตก อยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีชาวตะวันตกเข้ามาจำนวนมาก ในปี พ.ศ. ๒๔๐๖ ถนนเจริญกรุงตอนใต้จึงเป็นย่านที่พักของชาวตะวันตกในกรุงเทพฯยุคแรก

กิจการโรงแรมที่สำคัญในอดีตของประเทศไทย
๑) โอเรียนเต็ลโฮเต็ล - สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยกลาสีเรือชาวต่างชาติ เป็ยเพียงอาคารไม้ชั้นเดียว ปัจจุบัน กลายเป็นโรงแรมมาตรฐานสากลชั้นนำแห่งหนึ่ง




๒) โฮเต็ลหัวหิน - หรือ โรงแรมรถไฟหัวหิน สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจัดให้บริการตามแบบโฮเต็ลในยุโรป ต่อมาให้เอกชนปรับปรุง และเช่าดำเนินกิจการ เป็นโรงแรมโซฟิเทลหัวหิน ปัจจุบัน กลายเป็นโรงแรมมาตรฐานสากลชั้นนำแห่งหนึ่ง



๓) โฮเต็ลวังพญาไท - สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยปรับปรุงจากพระราชวังพญาไท(เคยเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) ใช้เป็นที่รับรองแขกเมือง ปัจจุบันได้รับการบูรณะให้งดงาม ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญ ตั้งอยู่บริเวณโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า



๔) โรงแรมรัตนโกสินทร์ - สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระอานันทมหิดล บนถนนราชดำเนินกลางใกล้สะพานผ่านพิภาพลีลา ใช้รับรองแขกเมืองสำคัญ และเป็นที่ชุมนุมของชาวสังคมยุคนั้น ต่อมาให้เอกชนเช่าดำเนินการเปลี่ยนชื่อเป็น โรงแรมรอยัล ปัจจุบันยังดำเนินกิจการอยู่

กลุ่มโรงแรมภายในประเทศไทยที่สำคัญ ได้แก่ กลุ่มดุสิตธานี, เซ็นทรัล, อมารี, อิมพีเรียล



พระราชบัญญัติโรงแรม ฉบับปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้ระบุว่า "โรงแรม" คือ สถานที่ที่พัก จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทางธุรกิจ ให้บริการที่พักชั่วคราวสำหรับคนเดินทาง โดยมีค่าตอบแทนและไม่คิดเป็นรายเดือน

ปัจจัยพื้นฐานในการบริการที่พักแรม

๑. ความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ำพัก

๒. ความสะอาดและสุขอนามัยในสถานที่พัก

๓. ความสะดวกสบายจากบริการสิ่งอำนวยความสะดวก และตอบสนองความต้องการของผู้พัก

๔. ความเป็นส่วนตัว

๕. บรรยากาศตกแต่งสวยงาม

๖. ภาพลักษณ์ของกิจการ และอื่นๆ

ประเภทที่พักแรม

แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ


๑) โรงแรม

เกณฑ์การจำแนกประเภทโรงแรม มีดังต่อไปนี้

- ด้านที่ตั้ง : เป็นปัจจัยสำคัญที่เอื้อต่อความสำเร็จเชิงธุรกิจ

- ด้านขนาด : พิจารณาจากจำนวนห้องพักแรม

- ด้านจุดประสงค์ของผู้มาพัก : พิจารณาจากกลุ่มผู้พักส่วนใหญ่ว่มีจุดประสงค์ใด ซึ่งจะส่งต่อกิจกรรมบริการ

- ด้านราคา : พิจารณาจากอัตาห้องพัก โดยเปรียบเทียบระดับราคาเฉลี่ยของกิจการภายในเขตพื้นที่ หรือประเทศ

- ด้านระดับการบริการ : พิจารณาจากความครบครันในการบริการ

- ด้านการจัดระดับมาตรฐานโดยใช้สัญลักษณ์ : ระดับดาวในแต่บะโรงแรม (๑ - ๕ ดาว)

- ด้านความเป็นเจ้าของและรูปแบบการบริหาร : แบ่ง ๒ กลุ่ม คือ โรงแรมอิสระ และโรงแรมจัดการแบบกลุ่ม

๒) ที่พักนักท่องเที่ยว

- บ้านพักเยาวชน : เป็นที่พักราคาประหยัด เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนเดินทางท่องเที่ยว


- ที่พักพร้อมอาหารเช้าราคาประหยัด : โดยเจ้าของบ้านแบ่งห้องพักว่างให้เช่าและจัดอาหารเช้าไว้บริการ

- ที่พักริมทางหลวง : โมเต็ล (Motel) เป็นที่พักขนาดเล็กตั้งอยู่ริมทางหลวงสายหลัก

- ที่พักแบบจัดสรรเวลาพัก : คล้ายโรงแรม เป็นธุรกิจที่เติบโตและได้รับความนิยมในอเมริกา

- เกสต์เฮ้าส์ : เป็นที่พักขนาดเล็ก ราคาประหยัด มักตั้งอยู่ในชุมชน

- อาคารชุดบริการที่พักระยะยาว หรือ เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ : เป็นที่พักบริการห้องชุดสำหรับผู้พักระยะยาวเป็นสัปดาห์ เป็นเดือน หรือเป็นปี เน้นบริการคล้ายโรงแรม

- ที่พักกลางแจ้ง : เป็นที่พักแบบประหยัดที่สุดในประเทศตะวันตก จัดพื้นที่กลางแจ้งสำหรับนักท่องเที่ยวที่นิยมใกล้ชิดธรรมชาติ

- โฮมสเตย์ : เป็นที่พักพร้อมกิจกรรมการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวจะพักรวมกับเจ้าของบ้าน

แผนกงานในโรงแรม

แบ่งเป็นแผนกงานสำคัญ ดังนี้

๑. แผนกงานส่วนหน้า เป็นศูนย์กลางการติดต่อระหว่างโรงแรมและแขกผู้พัก

๒. แผนกงานแม่บ้าน การจัดเตรียมห้องพักแขก ทำความสะอาดในพื้นที่ต่างๆ ซีกรีด จัดดอกไม้

๓. แผนกอาหารและเครื่องดื่ม รับผิดชอบเรื่องอาหารและการบริการอาหาร เครื่องดื่ม

๔. แผนกขายและการตลาด รับผิดชอบวางแผนตลาดเพื่อสร้างรายได้แก่ธุรกิจ

๕. แผนกบัญชีและการเงิน ดูแลจัดทำบัญชีและควบคุมการเงินของโรงแรม

๖. แผนกทรัพยากรมนุษย์ ในบางกิจการขนาดเล็ก จะเป็นแผนกบุคคล

ประเภทห้องพัก

- Single ห้องพักสำหรับนอนคนเดียว ในต่างประเทศ จะเป็นห้องพักเตียงเดี่ยว

- Twin ห้องพักเตียงคู่แฝด ประกอบเตียงเดี่ยว ๒ เตียง ตั้งเป็นคู่วางแยกกัน

- Double ห้องพักเตียงคู่ที่เป็นเตียงเดียวขนาดใหญ่ สำหรับนอนได้ ๒ คน บางครั้งให้บริการแก่ผู้พักที่มาคนเดียว เพื่อความสะดวกสบายยิ่งขึ้น

- Suite ห้องชุดที่ภายในประกอบด้วยห้องตั้งแต่ ๒ ห้องขึ้นไปโดยกั้นเป็นสัดส่วนแบ่งเป็นห้องนอนและห้องนั่งเล่น ในโรงแรมมาตรฐานชั้นดีตามแบบสากลมักมีห้องชุดที่ตกแต่งสวยงาม บริการในอัตราราคาสูง

บทที่ 5 การคมนาคมขนส่ง

การคมนาคม (Transportations) คือ กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้าย คน สัตว์ สิ่งของ จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยสื่อกลางต่างๆ ภายใต้ราคาที่ตกลงกันไว้


การคมนาคม ประกอบด้วย

๑) เส้นทาง (Way) แบ่งเป็น

- เส้นทางธรรมชาติ

- เส้นทางธรรมชาติปรับปรุง

- เส้นทางที่มนุษย์สร้างขึ้น

๒) สถานี (Terminal) คือ สถานที่ให้บริการแก่ยานพาหนะ ตามความต้องการเฉพาะด้าน


ประเภทของธุรกิจการคมนาคมขนส่งเพื่อการท่องเที่ยว

๑. ธุรกิจการขนส่งทางบก

เกิดจากการใช้แรงงานคนในการลากเกวียน ต่อมาเปลี่ยนเป็นใช้แรงงานสัตว์ แล้วจึงเกิดการประดิษฐ์รถม้าขึ้นในปี ค.ศ. ๑๔๘๐ ที่ประเทศอังกฤษ
ต่อมาในปี ค.ศ. ๑๙๒๐ ได้ประดิษฐ์รถยนต์ขึ้น จึงเกิดการทำเส้นทาง และยุคของเครื่องจักรไอน้ำ ในปี ค.ศ. ๑๘๒๕ เกิดการประดิษฐ์รถไฟขึ้น


ในประเทศไทย เริ่มมีรถลากเกวียนในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

รถไฟ : จะเป็นที่นิยมมาก ในยุโรป เช่น รถไฟ TGV ประเทศฝรั่งเศส , รถไฟ Eurostar รัฐบาลฝรั่งเศสและอังกฤษ , รถไฟ X2000 Metroliner ประเทสสวีเดน , เอเชีย เช่น รถไฟ Shinkansen ประเทศญี่ปุ่น


รถยนต์ส่วนบุคคล : นิยมมากเนื่องจาก ประหยัดถ้าโดยสารได้หลายคน สะดวก รวดเร็ว คล่องตัว

รถเช่า : ที่ประเทศอังกฤษและประเทศสหรัฐอเมริกา นิยมเช่าเพื่อการเจรจาธุรกิจและท่องเที่ยว

รถตู้เพื่อนันทนาการ : นิยมมากในทวีปอเมริกาและยุโรป เพราะรถตู้ได้ถูกออกแบบคล้ายบ้าน ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายระหว่างเดินทาง

รถโดยสาร : เนื่องจากมีราคาที่ประหยัด ทำให้ผู้โดยสารนิยมใช้บริการ ยกเว้นในยุโรป

๒. ธุรกิจการขนส่งทางน้ำ

เกิดจากการใช้ท่อนไม้มาต่อเป็นแพ และต่อมาก็ได้นำต้นไม้ทั้งต้นมาขุด เป็นลำเรือโดยมีรูปร่างคล้ายตะกร้าลอยน้ำ หลังจากนั้น ได้มีการพัฒนา นำหนังสัตว์มาขึงโครงไม้ทำเป็นเรือ เรียกว่า เรือหนังสัตว์

ในปี ค.ศ. ๑๗๗๒ ประเทศอังกฤษ มีการขนส่งผู้โดยสารทางเรือขึ้น โดยมีห้องสำหรับดื่มกาแฟไว้บริการ หลังจากนั้น ในปี ค.ศ. ๑๘๑๕ ได้มีบริการท่องเที่ยวด้วยเรือสำราญชื่อว่า เรือซีลอน วิ่งในเส้นทางทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และเมืองท่า ในอิตาลี กรีซ อียิปต์ และอาฟริกาตะวันตก


ต่อมาในปี ค.ศ. ๑๙๐๐ ก็มีการต่อเรือสำราญที่สมบรูณ์แบบ ชื่อว่า Princesses Victoria Louis ซึ่งเป็นที่มาของเรือยอดซ์ เรือสำราญที่มีราคาแพง

กระทั่งในปี ค.ศ. ๑๘๑๙ มีเรือที่สามารถเดินทางข้ามมหาสมุทรได้เป็นครั้งแรก คือ เรือกลไฟ Savannah แล่นระหว่างเมือง Savannah รัฐจอเจีย กับเมือง Liverpool ประเทศอังกฤษ

ในประเทศไทย การขนส่งทางน้ำเริ่มจากการใช้เรือทำการประมง และขนส่งสินค้าภายในประเทศ ต่อมาการค้าขยาย ก็ได้รับรูปแบบวิธีการต่อและเดินเรือมาจากประเทศจีน
เรือเดินทะเล : จะให้บริการเฉพาะเมืองท่าที่สำคัญ เช่น เรือควีนอลิซาเบธที่ ๒ ให้บริการระหว่างเมืองเซาท์แฮมตัน ประเทศอังกฤษ กับนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา


เรือสำราญ : คล้ายโรงแรมลอยน้ำ ให้ความสะดวกสบาย หรูหรา มีบริการห้องพัก ห้องประชุม

เรือข้ามฟาก : ใช้สำหรับเดินทางในระยะสั้นๆ

เรือใบและเรือยอร์ช : เป็นเรือขนา่ดเล็ก-กลาง เคลื่อนที่โดยลมปะทะกับใบเรือ หรือแล่นโดยเครื่องยนต์

เรือบรรทุกสินค้า : เป็นเรือที่ส่งสินค้าและให้บริการแก่นักท่องเที่ยวที่ไม่เร่งรีบ มีห้องพักเหมือนเรือสำราญ แต่ราคาถูกกว่า รับผู้โดยสารได้ประมาณ ๑๒ คน


๓. ธุรกิจการขนส่งทางอากาศ

เกิดขึ้นครั้งแรก ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ในปี ค.ศ. ๑๙๐๓ พี่้น้องตระกลูWrightได้คิดค้นประดิษฐ์เครื่องบิน และออกบินทางด้านธุรกิจครั้งแรก ในปี ค.ศ. ๑๙๑๙ ระหว่างเมืองLondonและเมืองParis

แต่เกิดการขนส่งผู้โดยสารครั้งแรก ในปี ค.ศ. ๑๙๒๗ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยบินระหว่างเมืองBostonและเมืองNewYork จนกระทั่งในปี ค.ศ. ๑๙๓๕ ได้เริ่มจ้างพนักงานบนเครื่องบินขึ้น


การบินเที่ยวบินประจำ : แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ

๑) เที่ยวบินประจำภายในประเทศ

๒) เที่ยวบินประจำระหว่างประเทศ

การบินเที่ยวบินไม่ประจำ : เป็นการบินเสริมนอกตาราง สามารถรับ-ส่ง ผู้โดยสารทั่วไปได้ นิยมมากในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว

การบินเที่ยวบินเช่าเหมาลำ : เป็นการบินให้บริการแก่องค์กร กลุ่มนักท่องเที่ยว

วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บทที่4

บทที่ 4 
องค์ประกอบของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

เนื่องจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่และรวมเอาธุรกิจที่เกี่ยวข้องไว้ด้วยกัน เราแบ่งะรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวออกเป็นสองประเภท คือ ธุรกิจที่จัดว่าเป็น องค์ประกอบหลักแบ่งออกเป็น
แหล่งท่องเที่ยว ที่พักแรม การคมนาคมขนส่ง อาหารเครื่องดื่ม บริการนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
          องค์ประกอบสนับสนุนแบ่งออกเป็น
การบริการข่าวสารข้อมูล ความปลอดภัย การอำนวยความสะดวกในการเข้า-ออกเมือง

ร้านขายของที่ระลึก
         ปัจจัยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาค เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และเป็นปัจจัยที่สร้างสรรค์ภูมิทัศน์ที่เป็นสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว
         ลักษณะภูมิประเทศ เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ที่ไม่เท่ากันในแต่ละภูมิภาค ลักษณะภูมิประเทศจึงแตกต่างกัน
        ลักษณะภูมิอากาศ เป็นผลมาจากสถานที่ตั้งของแต่ละภูมิภาคที่อยู่ตามเส้น ละติจูดที่แตกต่างกัน ทำให้ภูมิอากาศมีความแตกต่างกัน
        ปัจจัยทางวัฒนธรรม ความแตกต่างทางวัฒนธรรมของแต่ละภูมิภาค ย่อมเป็นสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยวได้เช่นกัน
        โครงสร้างพื้นฐานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว หมายถึง องค์ประกอบพื้นฐานในการรองรับการท่องเที่ยวทั้งระบบ ถือเป็นส่วนในการสนับสนุนให้การท่องเที่ยวสามารถดำเนินไปได้ด้วยดี และทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ได้แก่ ระบบไฟฟ้า ระบบประปา ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ระบบการขนส่ง และระบบสาธารณสุข
         แหล่งท่องเที่ยว หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งที่อยู่ในรูปธรรมและนามธรรม ซึ่งมนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจและประกอบกิจกรรมนันทนาการ อันนำมาซึ่งความพึงพอใจและความสุขในรูปแบบต่างๆ ได้

        จุดหมายปลายทาง (Destination)  หมายถึง สถานที่ที่ใดที่หนึ่ง อาจจะเฉพาะเจาะจง หรืออาจจะเป็นสถานที่ ทั่วๆไป หรืออาจเป็นหลายๆ สถานที่ ต่อการเดินทางครั้งหนึ่ง
        สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว (Tourist Attraction)

หมายถึง สถานที่ที่มีศักยภาพในการดึงดูดให้ผู้คนเดินทางเข้าไปเยี่ยมชม หรือประกอบกิจกรรมเพื่อให้ได้รับความพึงพอใจ
        แหล่งท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติ คือสถานที่ที่เกิดเองตามธรรมชาติทั้งทางด้านชีวภาพและกายภาพ รวมทั้งบริเวณที่มนุษย์เข้าไปปรุงแต่งเพิ่มเติมจากสภาพธรรมชาติในบางส่วน ทรัพยากรประเภทนี้ไม่ต้องมีต้นทุนทางการผลิต แต่ยังคงต้องมีต้นทุนในการรักษาดูแล อาทิเช่น ป่าไม้ เขื่อน ภูเขา น้ำตก ชายหาด ทะเล และเกาะแก่ง

       
        มรดกโลก (World Heritage) ในประเทศไทย มรดกโลกในประเทศมี 5 แห่งด้วยกัน คือ

ทุ่งใหญ่ห้วยขาแข้ง ได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกเมื่อปี ค.ศ. 1991
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ปี ค.ศ. 1991
อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา ปี ค.ศ. 1991
แหล่งขุดค้นโบราณคดีบ้านเชียง ค.ศ. 1992
ดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ปี ค.ศ. 2005
       แหล่งท่องเที่ยวประเภทที่มนุษย์สร้างขึ้น

ประเภทที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ ศาสนสถาน โบราณสถาน โบราณวัตถุ และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ โดยมีวัตถุ ประสงค์ในการสร้าง และอายุ รวมทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกันไป แต่ท้ายที่สุดก็กลายเป็น ทรัพยากรอันมีค่าทางการท่องเที่ยวของประเทศ
      กรมศิลปากรได้แบ่งโบราณสถานออกเป็น 7 ประเภทได้แก่

1.โบราณสถานสัญลักษณ์แห่งชาติ คือ สถานที่ที่มีความสำคัญสูงสุด หาดชาติขาดซึ่งโบราณสถานนี้ไปจะเป็นการสูญเสียอย่างใหญ่หลวง

2.อนุสาวรีย์แห่งชาติ คือ อนุสรณ์ที่ได้สร้างเพื่อบุคคลหรือเรื่องราวสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์หรือเป็นที่เคารพอย่างสูงในชาติ ซึ่งประชาชนจะต้องร่วมรำลึกถึงด้วยกัน

3.อาคารสถาปัตยกรรมแห่งชาติ คือ อาคารสิ่งก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมอันทรงไว้ซึ่งคุณค่าอย่างสูงทางศิลปะ อันแสดงถึงการประดิษฐ์คิดค้นใหม่ๆ ในยุคอดีตที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตในปัจจุบันหรือเกี่ยวพันกับบุคคลสำคัญหรือเหตุการณ์สำคัญของชาติ

4.ย่านประวัติศาสตร์ คือ พื้นที่ที่มีความหนาแน่นทางสถาปัตยกรรมเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ การวางผังเมือง และสภาพแวดล้อมที่สร้างขึ้น โดยมีอาคาร สิ่งก่อสร้าง ถนนหนทางและองค์ประกอบอื่นๆ ในพื้นที่รวมอยู่ด้วย ทำให้พื้นที่นั้นจัดอยู่ในลักษณะต่อไปนี้ ย่านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ย่านประวัติศาสตร์การพาณิชย์ ย่านประวัติศาสตร์อุตสาหกรรม ย่านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ย่านโบราณคดี

5.อุทยานประวัติศาสตร์แห่งชาติ หมายถึงพื้นที่ที่มีเนื้อหาทางประวัติศาสตร์ องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมรวมกับสภาพแวดล้อมทั้งที่เกิดเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น อันทำให้สาระทางประวัติศาสตร์ยังคงดำรงไว้ได้

6.นครประวัติศาสตร์แห่งชาติ คือ หมายถึง เมืองหรือนครที่มีแบบอย่างทางวัฒนธรรม การวางผังเมือง สาระสำคัญทางประวัติศาสตร์ และองค์ประกอบของเมือง สถาปัตยกรรม วิศวกรรม และชีวิตความเป็นอยู่

7.ซากโบราณสถานและแหล่งโบราณคดีประวัติศาสตร์แห่งชาติ หมายถึง แหล่งโบราณคดีประวัติศาสตร์และซากโบราณสถาน ซึ่งเป็นหลักฐานแสดงถึงประวัติศาสตร์อันสำคัญยิ่งของชาติในอดีต

               ทรัพยากรท่องเที่ยวประเภทศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและกิจกรรมของผู้คนในท้องถิ่น
  "วัฒนธรรม" หมายถึง "แบบอย่างหรือวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชนแต่ละกลุ่ม เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมการอยู่ร่วม กันอย่างปกติสุขในสังคม" วัฒนธรรมแต่ละสังคมจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ และทรัพยากร ต่างๆ ลักษณะอีกประการหนึ่งของวัฒนธรรมคือ เป็นการสั่งสมความคิด ความเชื่อ วิธีการ จากสังคมรุ่นก่อน ๆ มีการเรียนรู้ และสามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อๆ ไปได้ วัฒนธรรมใดที่มีรูปแบบ หรือแนวความคิดที่ไม่เหมาะสม ก็อาจจะเลือนหายไป วัฒนธรรมที่เป็นแนวความคิด ความเชื่อ เป็นนามธรรมล้วน ๆ แต่เพียงอย่างเดียว ไม่ถือว่าเป็น ทรัพยากรทางการท่องเที่ยว วัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรมเท่านั้น จึงจะสามารถพัฒนาให้เป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยวได้












  


  








  

วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกของปิ่นโต

395 ปี บันทึกของปินโต หลักฐานประวัติศาสตร์นิพนธ์หรือนิยายผจญภัย
บันทึกความทรงจำของแฟร์เนา เมนเดซ ปินโต( Fernão Mendez Pinto ค.ศ.1509-1583) เรื่อง “Pérégrinação”ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในปีค.ศ.1614 เป็นเรื่องเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และเหตุการณ์บ้านเมืองต่างๆ รวมทั้งอัตชีวประวัติของเขาอย่างน่าตื่นเต้นและเหลือเชื่อ จนมีการใช้ชื่อของปินโตเล่นคำเชิงล้อเลียนว่าพูดจริงหรือเท็จอย่างสนุกสนานโดยชนชาติศัตรูของโปรตุเกสในยุโรปหรือแม้แต่ชาวโปรตุเกสบางคน บันทึกของปินโตถูกอ้างอิงจากนักประวัติศาสตร์ไทยอย่างกว้างขวางนับตั้งแต่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพมาจนปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงบทบาทของทหารรักษาพระองค์ชาวโปรตุเกส และการพระราชทานที่ดินให้พวกเขาตั้งถิ่นฐานและปฏิบัติศาสนพิธีในสมัยอยุธยา จึงเป็นที่มาของการตรวจสอบว่าหนังสือฉบับนี้มีสถานะเป็นหลักฐานประวัติศาสตร์นิพนธ์หรือเป็นเพียงนิยายผจญภัย
Pérégrinação หรือ Pérégrinaçam” แปลว่า “long tour,long travels” ตรงกับคำว่า “Peregrination“ หรือ “Pilgrimage” หมายถึง การเดินทางการท่องเที่ยว หรือการเดินทางแสวงบุญ
เมื่อแบร์นารด์ ฟิกูอิเยร์(Bernard Figuier) แปลงานเขียนของปินโตเป็นภาษาฝรั่งเศสในค.ศ. 1628 เขาใช้ชื่อ ว่า “les voyages adventureux de fernando mendez pinto 1537-1558” และมีชื่อภาษาอังกฤษโดยการแปลของเฮนรี โคแกนว่า “The Voyages and Adventures of Fernand Mendez Pinto” (1653)
อย่างไรก็ดี นักประวัติศาสตร์และผู้อ่านจำนวนไม่น้อยกลับมีความสงสัยต่อความเก่งกล้าสามารถของปินโต บางคนประนามว่างานเขียนของเขาเป็นเรื่องโกหกเพื่อความมีชื่อเสียงของตน แม้แต่ชาวโปรตุเกสเองก็ยังนำชื่อของเขาไปล้อเลียนว่า “ Fernâo , Mendez? Pinto!(Fernâo, do you lie? Yes, I lie!” ทั้งๆที่ปินโตไม่เคยระบุว่า “Pérégrinação” เป็นนิยายประโลมโลก ( Fiction) แต่กลับบอกว่า บันทึกของเขาเปรียบเป็น “ตำรา”ในการสำรวจดินแดนและการเดินเรือไปยังดินแดนต่างๆในโลกตะวันออก ผู้เขียนจึงได้เสนอแนวทางศึกษาเพื่อชี้ให้เห็นคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของบันทึกฉบับนี้
ประวัติของปินโต
ปินโตเป็นชาวเมืองมองเตอมูร์เก่า (Montemor-o-velho) ใกล้เมืองกูอิงบรา (Coinbre) ในราชอาณาจักรโปรตุเกส ปินโตเกิดในครอบครัวยากจนระหว่างค.ศ. 1509-1512 เมื่ออายุประมาณ 10 หรือ 12 ขวบจึงต้องเป็นเด็กรับใช้ของสุภาพสตรีผู้หนึ่ง ในค.ศ. 1523 ชีวิตของเขาตกอยู่ในอันตรายจนต้องหลบหนีลงเรือจากเมืองกูแอ ดึ แปดรา (Cue de Pedra) การผจญภัยของปินโตเริ่มขึ้นเมื่อเดินทางไปถึงเมืองดิว (Diu) ในอินเดียในค.ศ.1538 ขณะมีอายุได้ 28 ปี เขาเดินทางกลับมาตุภูมิเมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1558 รวมเป็นเวลา 21 ปีของการแสวงโชคในเอเชีย ปินโตเคยเดินทางไปในเอธิโอเปีย จีน อาณาจักรของชาวตาร์ตาร์ (Tataria) โคชินไชนา สยาม พะโค ญี่ปุ่น และหมู่เกาะอินเดียตะวันออกในน่านน้ำอินโดนีเซียปัจจุบัน
ปินโตเคยเผชิญปัญหาเรืออับปาง 5 ครั้ง ถูกขาย 16 ครั้งและถูกจับเป็นทาสถึง 13 ครั้ง ชีวิตในเอเชียของปินโตเคยผ่านการเป็นทั้งกลาสีเรือ ทหาร พ่อค้า ทูตและนักสอนศาสนา (missionary) เมื่อเดินทางกลับไปถึงโปรตุเกสในปีค.ศ.1558 เขาจึงพยายามติดต่อขอรับพระราชทานบำเหน็จรางวัล เนื่องจากได้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อชาติและศาสนาอย่างเต็มที่ แต่กลับไม่ได้รับความสนใจจากราชสำนัก ปินโตจึงไปใช้ชีวิตอยู่ที่เมืองปรากัลป์ (Pragal) ใกล้เมืองอัลมาดา (Almada) ทางใต้ของโปรตุเกส ปินโตเขียนหนังสือชื่อ “Pérégrinação”ขึ้น และถูกตีพิมพ์หลังจากเขาถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1583
ปินโตเคยเดินทางเข้าสยาม 2 ครั้ง (กรมวิชาการ, 2531 : 115) ครั้งแรกเข้ามาในปัตตานีและนครศรีธรรมราชก่อนค.ศ.1548 ครั้งที่ 2 เข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (ค.ศ.1534-1546) นักประวัติศาสตร์บางคนนำหลักฐานของฝ่ายไทยเข้าไปตรวจสอบความน่าเชื่อถือใน เอกสารของเขาหลายประเด็น และชี้ให้เห็นความคลาดเคลื่อนของศักราชที่เขาอ้างถึง
หลังจากปินโตถึงแก่กรรม บุตรีของเขาได้มอบต้นฉบับหนังสือเรื่อง “Pérégrinação” ให้แก่นักบวชสำนักหนึ่งแห่งกรุงลิสบอน ต่อมากษัตริย์ฟิลิปที่ 1 (Philip I of Portugal,1581-1598 และทรงเป็นกษัตริย์ฟิลิปที่ 2 แห่งสเปน - Philip II of Spain,1556-1598) ทรงได้ทอดพระเนตรงานนิพนธ์ชิ้นนี้ บุตรีของปินโตจึงได้รับพระราชทานบำเหน็จรางวัลแทนบิดา งานเขียนของปินโตตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.1614 และแปลเป็นภาษาต่างๆ อาทิ ภาษาฝรั่งเศส (1628) ภาษาอังกฤษ (1653) ใน ค.ศ.1983 กรมศิลปากรได้เผยแพร่บันทึกของปินโตบางส่วนในชื่อ “การท่องเที่ยวผจญภัยของแฟร์นังด์ มังเดซ ปินโต ค.ศ1537-1558” แปลโดยสันต์ ท. โกมลบุตร ต่อมากรมศิลปากรร่วมกับกรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการได้ตีพิมพ์ผลงานบางส่วนของเขาออกเผยแพร่อีกครั้งใน ค.ศ.1988 โดยแปลจากหนังสือชื่อ “Thailand and Portugal : 470 Years of Friendship
ปินโตเคยเดินทางเข้าสยาม 2 ครั้ง (กรมวิชาการ, 2531 : 115) ครั้งแรกเข้ามาในปัตตานีและนครศรีธรรมราชก่อนค.ศ.1548 ครั้งที่ 2 เข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (ค.ศ.1534-1546) นักประวัติศาสตร์บางคนนำหลักฐานของฝ่ายไทยเข้าไปตรวจสอบความน่าเชื่อถือในเอกสารของเขาหลายประเด็น และชี้ให้เห็นความคลาดเคลื่อนของศักราชที่เขาอ้างถึง
หลังจากปินโตถึงแก่กรรม บุตรีของเขาได้มอบต้นฉบับหนังสือเรื่อง “Pérégrinação” ให้แก่นักบวชสำนักหนึ่งแห่งกรุงลิสบอน ต่อมากษัตริย์ฟิลิปที่ 1 (Philip I of Portugal,1581-1598 และทรงเป็นกษัตริย์ฟิลิปที่ 2 แห่งสเปน - Philip II of Spain,1556-1598) ทรงได้ทอดพระเนตรงานนิพนธ์ชิ้นนี้ บุตรีของปินโตจึงได้รับพระราชทานบำเหน็จรางวัลแทนบิดา งานเขียนของปินโตตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.1614 และแปลเป็นภาษาต่างๆ อาทิ ภาษาฝรั่งเศส (1628) ภาษาอังกฤษ (1653) ใน ค.ศ.1983 กรมศิลปากรได้เผยแพร่บันทึกของปินโตบางส่วนในชื่อ “การท่องเที่ยวผจญภัยของแฟร์นังด์ มังเดซ ปินโต ค.ศ1537-1558” แปลโดยสันต์ ท. โกมลบุตร ต่อมากรมศิลปากรร่วมกับกรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการได้ตีพิมพ์ผลงานบางส่วนของเขาออกเผยแพร่อีกครั้งใน ค.ศ.1988 โดยแปลจากหนังสือชื่อ “Thailand and Portugal : 470 Years of Friendship
รูปแบบการนำเสนอ
งานเขียนของปินโตถูกนำเสนอในรูปของร้อยแก้ว บางตอนก็ระบุว่าเรื่องที่ได้ยินได้ฟังมาจากคำบอกเล่าและการสอบถามผู้รู้ อาทิ เหตุการณ์เมื่อสมเด็จพระไชยราชาธิราชเสด็จสวรรคต บางตอนก็ระบุว่าเป็นผู้มีประสบการณ์ด้วยตนเอง เช่น เหตุการณ์เดินทางเข้ามายังสยาม 2 ครั้ง เป็นต้น
จุดมุ่งหมายที่จริงจังของทั้งปินโตและโคแกนสะท้อนให้เห็นคุณค่าของเหตุการณ์ สถานที่ ทรัพยากร อารมณ์ ความรู้สึกและวัฒนธรรมอันหลากหลายของผู้คนที่ปรากฏในหนังสือ “Pérégrinação” อย่างไม่อาจมองข้ามได้ งานของปินโตจึงได้รับการอ้างอิงอย่างกว้างขวาง อย่างน้อยๆฉบับแปลภาษาฝรั่งเศสในปีค.ศ.1628 ก็ถูกอ้างอิงโดยซิมอง เดอ ลาลูแบร์ (Simon de Laloubère) ซึ่งเดินทางเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ เมื่อกล่าวถึงจำนวนเรือที่เข้ามาค้าขายในกรุงศรีอยุธยาก่อนหน้าการเข้ามาของตน เป็นที่น่าสงสัยว่าหากลาลูแบร์เคยได้ยินการเสียดสีงานเขียนของปินโตมาบ้างก่อนที่จะเดินทางเข้ามาสยาม เขาควรจะได้ตรวจสอบข้อมูลและหลักฐานจากผู้รู้พื้นเมืองชาวสยามอีกครั้ง ก่อนจะตีพิมพ์งานเขียนของตนที่กรุงอัมสเตอร์ดัมในปีค.ศ.1714 เพราะงานเขียนของปินโตเคยถูกล้อเลียนมาแล้วอย่างอื้อฉาว แต่กลับไม่ปรากฏข้อวิพากษ์ความน่าเชื่อถือของปินโตในงานของลาลูแบร์
คุณค่าทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับราชอาณาจักรสยาม
บันทึกของปินโตนับเป็นเอกสารสำคัญที่กล่าวถึงเรื่องราวส่วนหนึ่งเกี่ยวกับทรัพยากร การทหาร วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ กฎหมายและเรื่องราวในราชสำนักสยามกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 และมักจะถูกอ้างอิงเสมอเมื่อกล่าวถึงบทบาททางการทหารของชุมชนโปรตุเกสในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (ค.ศ.1543-1546) เมื่อเกิดศึกระหว่างสยามกับเชียงใหม่ขึ้นใน ค.ศ.1548 (พ.ศ.2091) ปินโต กล่าวว่า “ชาวต่างประเทศทุกๆชาติที่ไปร่วมรบกับกษัตริย์สยามนั้นต่างก็ได้รับคำมั่นสัญญาว่าจะได้รับบำเหน็จรางวัล การยกย่อง ผลประโยชน์ ความชื่นชมและเกียรติยศชื่อเสียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะได้รับอนุญาตให้สร้างโบสถ์เพื่อการปฏิบัติศาสนกิจในแผ่นดินสยามได้....”
เอกสารอ้างอิง
นิธิ เอียวศรีวงศ์. 2523. ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา.
นิธิ เอียวศรีวงศ์และอาคม พัฒิยะ. 2525. หลักฐานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย.
มานพ ถาวรวัฒน์สกุล. 2536. ขุนนางอยุธยา.
ราชบัณฑิตยสถาน. 2550. กฎหมายตราสามดวงฉบับราชบัณฑิตยสถานเล่ม1.
วิชาการ. กรม . 2531. 470 ปีสัมพันธไมตรีระหว่างไทยและโปรตุเกส.
ศิลปากร. กรม. 2536. การท่องเที่ยวผจญภัยของแฟร์นังด์ มังเดซ ปินโต ค.ศ.1537-1558.
สันต์ ท. โกมลบุตร(แปล). 2510.จดหมายเหตุลาลูแบร์ฉบับสมบูรณ์ เล่ม 1.
สุเนตร ชุตินทรานนท์. 2538. บุเรงนองกะยอดินนรธา.
Campos, Joaquim de. 1959. “Early Portuguese accounts of Thailand” Journal of The Siam
Society Volume VII.
Cogan, Henry. trans. 1653. The Voyages and Adventures of Fernand Mendez Pinto.
Collins, The. 1987. English Portuguese Portuguese English Dictionary.
Hutchinson, E.W. 1940. Adventurers in Siam in the Seventeen Century.
Wood, W.A.R. 1959 . “Fernão Mendez Pinto’s Account of Events in Siam” Journal of The
Siam Society Volume VII.

วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บทที่1
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
อุตสาหกรรม หมายถึง การประกอบกิจกรรมด้วยการนำปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ได้แก่ เงินทุน แรงงาน วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร และการจัดการมารวมกันเพื่อผลิตสินค้า และบริการอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีคุณค่าต่อมนุษย์
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว หมายถึง
การประกอบกิจกรรมด้วยการนำปัจจัยการผลิตต่างๆ มาผลิตบริการอย่างใดอย่างหนึ่งด้านการท่องเที่ยว ที่ก่อให้เกิดความสะดวกสบายหรือความพึงพอใจ และขายบริการด้านการท่องเที่ยวนั้นให้แก่ผู้เยี่ยมเยือน
องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับนักท่องเที่ยว (องค์ประกอบหลัก)
1.สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว
2.ธุรกิจการคมนาคมขนส่ง
3.ธุรกิจที่พักแรม
4.ธุรกิจร้านอาหารและภัตตาคาร
5.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
องค์ประกอบที่สนับสนุนกิจกรรมการท่องเที่ยว (องค์ประกอบเสริม)
1.ธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึก
2.ธุรกิจ MICE
3.การบริการข่าวสารข้อมูล
4.การอำนวยความสะดวกทางด้านความปลอดภัย
5.การอำนวยความสะดวกในการเข้า-ออกเมือง
ความสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทางเศรษฐกิจ
1เป็นแหล่งที่มาของเงินตราต่างประเทศ
2ช่วยลดปัญหาการขาดดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ
3ช่วยสร้างอาชีพและการจ้างงาน
4ช่วยให้เกิดการกระจายรายได้
5ช่วยกระตุ้นให้เกิดการผลิตทางเศรษฐกิจ
ทางสังคมและวัฒนธรรม
ช่วยยกมาตรฐานการครองชีพของคนในท้องถิ่น ช่วยสร้างสรรค์ความเจริญให้แก่สังคม ช่วยเกิดให้เกิดการนำทรัพยากรที่ไร้ค่าในท้องถิ่นมาสร้างมูลค่า
ทางด้านการเมือง
ช่วยสร้างสันติภาพและความสามัคคี ช่วยส่งเสริมความมั่นคงและภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ประเทศ
วิวัฒนาการของการท่องเที่ยว
อาณาจักร บาบิโลน ( Babylonian Kingdom) และ อาณาจักรอิยิปต์ ( Egyptian Kingdom)
-การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์โบราณวัตถุ ( Historic Antiquities) 2600 ปีมาแล้วในอาณาจักรบาบิโลน
-มีการจัดงานเทศกาลทางด้านศาสนา มีการพบหลักฐานจากข้อความที่นักเดินทางเขียนไว้ที่ผนัง หรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ
จักรวรรดิกรีกและจักรวรรดิโรมัน
ลักษณะการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวสมัยกรีก เป็นการปกครองแบบนครรัฐ (City State) ทำให้ไม่มีผู้นำสั่งการให้สร้างถนน จึงนิยมเดินทางทางเรือ
-สถานที่ที่เชื่อว่าเป็นที่สิงสถิตของเทพเจ้า
-เดินทางเพื่อแสวงหาความรู้ เนื่องจากสมัยกรีกนี้มีนักปราชญ์เป็นจำนวนมาก อาทิ อริสโตเติล พลาโต โซเครติส -เพื่อการกีฬา โดนเฉพาะในกรุงเอเธนส์
เมื่อมีการเดินทาง ทำให้เกิดการสร้างที่พักแรมระหว่างทาง เกิดขึ้น ซึ่งเป็นเพียงแค่ห้องนอนแคบๆ เท่านั้น
สมัยโรมัน
ได้รวบรวมจักรวรรดิกรีก เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร และได้นำเอาวัฒนธรรม ธรรมเนียม ความหรูหราต่างๆ ไปพัฒนาเป็นแบบโรมัน
-สมัยโรมันเป็นสมัยที่การท่องเที่ยวรุ่งเรืองที่สุดในยุคโบราณ จนมีนักวิชาการปัจจุบัน กล่าวว่า “ แม้ว่าชาวโรมันจะมิใช่ชาติแรกที่เดินทางไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ เพื่อความเพลิดเพลินก็ตาม แต่ชาวโรมันก็เป็นชนชาติแรกที่แท้จริงที่สร้างวัฒนธรรมการท่องเที่ยวระบบมวลชนเป็นครั้งแรก” (Mass Tourism)
-ชาวโรมันนิยมเดินทางไปชมความสำเร็จของวิทยาการของกรีก อนุสาวรีย์ต่างๆ รูปแกะสลัก ตลอดจนงานเทศกาล
-โครงสร้างพื้นฐานถูกสร้างขึ้นอย่างเป็นระบบ ทั้งถนนหนทาง ที่พักแรม (Inns) ร้านอาหาร ตลอดจนการรักษาความปลอดภัย
ยุคศตวรรษที่ 20
การท่องเที่ยวยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ความสะดวกสบายมีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเดินทาง ที่พักแรม เงินตรา เอกสารการเดินทาง
-ผู้คนหันมานิยมการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวมากขึ้น ทำให้การเดินทางด้วยรถไฟลดน้อยลง
-พัฒนาของอุตสาหกรรมการบิน ที่เริ่มขึ้นในยุโรป ปี ค.ศ. 1919 และเริ่มขนส่งผู้โดยสาร ในช่วงหลักสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา
-ช่วงหลังสงครามโลก ผู้คนออกเดินทางท่องเที่ยวเพื่อเยี่ยมชมสถานที่สำคัญทางการสงคราม อาทิ หาดนอร์มังดีที่ฝรั่งเศส
สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18-19
การท่องเที่ยวยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ความสะดวกสบายมีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเดินทาง ที่พักแรม เงินตรา เอกสารการเดินทาง
-ผู้คนหันมานิยมการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวมากขึ้น ทำให้การเดินทางด้วยรถไฟลดน้อยลง
-พัฒนาของอุตสาหกรรมการบิน ที่เริ่มขึ้นในยุโรป ปี ค.ศ. 1919 และเริ่มขนส่งผู้โดยสาร ในช่วงหลักสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา-ช่วงหลังสงครามโลก ผู้คนออกเดินทางท่องเที่ยวเพื่อเยี่ยมชมสถานที่สำคัญทางการสงคราม อาทิ หาดนอร์มังดีที่ฝรั่งเศส
วิวัฒนาการการท่องเที่ยวของไทย
สมัยสุโขทัย
-การเดินทางเป็นไปอย่างอิสรเสรี โดยส่วนมากเป็นไปเพื่อการค้าขาย และทางศาสนา
-ส่วนมากเป็นการเดินทางภายในประเทศเท่านั้น
สมัยอยุธยา
เนื่องจากเป็นอาณาจักรใหญ่ และระบบสังคมเป็นแบบ ศักดินา ผู้คนไม่ค่อยมีอิสระในการเดินทางมากนัก นอกจากไปเพื่อการค้าเล็กๆ น้อย ส่วนด้านการเดินทางเพื่อการพักผ่อน ไม่ค่อยปรากฏ เพราะประชาชนส่วนมามีเวลาว่างไม่มากนัก มักจะอยู่กับบ้านมากกว่า
-มีปรับปรุงเส้นทางทางน้ำเพื่อการคมนาคม ตลอดจนเส้นทางทางบก เพื่อความสะดวกสบายทางด้านการค้าเป็นหลัก และเพื่อการเดินทาง
กลุ่มคนที่มีการเดินทางในสมัยอยุธยา มักจะเป็นกลุ่มคนที่อยู่ในชนชั้นปกครอง ตั้งแต่พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ และบรรดาขุนนางทั้งหลาย ในบางครั้งอาจจะมีไพร่ทาสติดตามไปเพื่อรับใช้เช่นกัน
ในประมาณปี ค.ศ. 1511 โปรตุเกสเป็นชาติตะวันตกชาติแรกที่เดินทางเข้ามายังอาณาจักรอยุธยา ตามมาด้วย ญี่ปุ่น อังกฤษ สเปน ฮอลันดา ฝรั่งเศส

ผลจากการเข้ามาของชาวต่างชาติในสมัยอยุธยา
ทำให้เกิดความเป็นนานาชาติในพระนครศรีอยุธยามากขึ้น ทำให้เกิดการผสมผสานวัฒนธรรม ประเพณีต่างๆ ทั้งของตะวันตก และของไทย ที่น่าสนใจคือ มีบันทึกการเดินทางของชาวตะวันตกที่เขียนเอาไว้เกี่ยวกับ ชีวิตความเป็นอยู่ การเดินทาง สถานที่ต่างๆ ในอาณาจักรอยุธยา แล้วนำกลับไปตีพิมพ์เผยแพร่ที่ตะวันตก ก่อให้เกิดการเดินทางเข้ามายังเอเชีย และอยุธยา มากขึ้น ในฐานะที่อยุธยาเป็นดินแดนของสินค้าของป่า เครื่องเทศ ทรัพยากรธรรมชาติ ที่สามารถสร้างกำไรให้มหาศาลแก่พ่อค้าชาวตะวันตก กล่าวได้ว่าอาณาจักรอยุธยา รุ่งเรืองมากทั้งทางด้านศิลปวิทยากร วัฒนธรรม ประเพณี บ้านเมืองร่ำรวย ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
มีการแลกเปลี่ยนคณะทูตานุทูตระหว่างอยุธยาและชาติต่างๆ หลายครั้ง วรรณคดีที่เป็นหลักฐานสำคัญที่กล่าวถึงการเดินทางไปยังต่างแดนที่มีเชื่อเสียงคือ นิราศฝรั่งเศส ของ โกษาปาน ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์
หลังสมัยสมเด็จพระนารายณ์ การค้าขายติดต่อกับชาติตะวันตกลดน้อยลง หันไปค้าขายกับจีนมากขึ้น และพยายามพัฒนาบ้านเมืองให้เป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีการส่งสมณทูตไปเผยแผ่ศาสนาโดยทั่วไป ที่สำคัญคือ เคยมีการส่งคณะสมณทูตไปยังลังกาทวีป และในลังกาเรียกนิกายสงฆ์ของตนว่า สยามวงศ์อีกด้วย
สมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์
เป็นความพยายามของพระมหากษัตริย์ทั้งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ที่พยายามจะทำฟื้นฟูความเป็นอยุธยาขึ้นมาใหม่อีกครั้ง จะพบว่า โครงสร้างของบ้านเมือง ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีต่างๆ จะคล้ายกับในสมัยอยุธยา
ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
สมัยรัชกาลที่สอง ทรงทำนุบำรุงทางด้านศิลปวัฒนธรรม และพัฒนาด้านการค้าระหว่างประเทศ
สมัยรัชกาลที่สาม บ้านเมืองเปิดการค้าขายกับต่างชาติ มากขึ้นอีกครั้งหนึ่ง คล้าย ๆ กับสมัยของสมเด็จพระนารายณ์
สมัยรัชกาลที่สี่ ทรงพยายามทำให้บ้านเมืองมีความทันสมัยตามแบบตะวันตก มีชาวตะวันตกเข้ามาพำนักอาศัยในกรุงสยามเป็นจำนวนมาก มีการสร้างที่พัก ร้านอาหารตามแบบตะวันตกเกิดขึ้นหลายแห่ง
สมัยรัชกาลที่ห้า ทรงปรับปรุงบ้านเมืองในทุกๆ ด้าน มีการเสด็จประพาสหัวเมืองต่างๆ รวมทั้งต่างประเทศหลายครั้ง ในยุคนี้มีการสร้างทางรถไฟ เรือกลไฟ นับว่าเป็นพื้นฐานสำคัญทางการท่องเที่ยว มีการเลิกทาส เลิกไพร่ ทำให้คนมีเสรีภาพในด้านต่างๆ มากขึ้น มีการออกไปศึกษาต่อต่างประเทศมากขึ้นเช่นกัน
สมัยรัชกาลที่หก มีการปรับปรุงสายการเดินรถไฟ มีการสร้างถนนหนทางเพื่อประโยชน์ในทางการสงคราม ตลอดจนการสร้างโรงแรมอีกด้วย
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
สมัยรัชกาลที่เจ็ด เนื่องจากสภาวะบ้านเมืองไม่อยู่ในความสงบและพระองค์ก็มีพระพลานามัยที่ไม่ค่อยแข็งแรงนัก จึงมีการเสด็จประทับตากอากาศบ่อยครั้ง โดยเฉพาะที่หัวหิน ทำให้มีการสร้างทางรถไฟสาย กรุงเทพ-หัวหิน เพื่อส่งเสริมการพักตากอากาศอีกด้วย
สมัยรัชกาลที่แปด-ปัจจุบัน เนื่องจากเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตย เปลี่ยนอำนาจการบริหารประเทศมาอยู่ที่นายกรัฐมนตรี รัฐบาลจอมพล ป. ให้มีการสร้างโรงแรมขึ้นอีก 3 แห่งเพื่อต้อนรับการเข้ามาของนักท่องเที่ยวช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองอีกด้วย
รัฐบาลไทยขณะนั้นเห็นความสำคัญของการท่องเที่ยว จึงได้มีการจัดตั้งองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(อสท.) จัดตั้งในปี พ.ศ. 2503 พร้อมกันนั้นก็มีการจัดตั้งบริษัทการบินไทย เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวของประเทศไทยอีกด้วย และได้เปลี่ยนมาเป็น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2522